Google Tools เพื่อการพัฒนางาน | Google Tools to Improve Work Performance

Google Tools เพื่อการพัฒนางาน | Google Tools to Improve Work Performance

รายวิชานี้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning)

คำอธิบายรายวิชา

ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) เป็นอีกหนึ่งความจำเป็นเร่งด่วนที่ควรส่งเสริมให้กับบุคลากรหน่วยงานของรัฐเพื่อการทำงานและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ GoogleTools เป็นเครื่องมือในการพัฒนางาน ผู้ใช้งานสามารถนำไปประยุกต์เป็นเครื่องมือการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานได้และสามารถบริหารจัดการการทำงานร่วมกันผ่านอุปกรณ์พกพาได้หลากหลายซึ่งสามารถเข้าถึงได้ ทุกที่ ทุกเวลา หลักสูตรนี้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนางานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายใต้เครื่องมืออำนวยความสะดวกทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื้อหาประกอบไปด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ Google tools เพื่อการพัฒนางาน,Google Tools เพื่อการติดต่อสื่อสารอย่างมืออาชีพ,Google Tools เพื่อการแบ่งปันพื้นที่การทำงานและทำงานร่วมกัน,Google Tools เพื่อการสร้างแบบสำรวจและแบบสอบถามออนไลน์, Google Tools เพื่อการค้นหาข้อมูล สารสนเทศ และทรัพยากรเพื่อการทำงาน,Google Tools เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลงานและหน่วยงานบนเว็บไซต์อย่างง่ายโดยผู้เรียนในหลักสูตรนี้จะสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการทำงานและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 15 นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. ผู้เรียนสามารถอธิบายการใช้งานเครื่องมือ Google เพื่อพัฒนาการทำงานได้

2. ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือ Google ในการติดต่อสื่อสารได้

3. ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือ Google ในการแบ่งปันพื้นที่การทำงานและทำงานร่วมกันได้

4. ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือGoogle ในการสร้างแบบสำรวจและแบบสอบถามออนไลน์ได้

5. ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือ Googleในการค้นหาข้อมูล สารสนเทศ และทรัพยากรเพื่อการทำงานได้

6. ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือ Googleเพื่อการประชาสัมพันธ์ผลงานและหน่วยงานบนเว็บไซต์ได้

คุณสมบัติผู้เรียน

นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้สนใจในวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การวัดผล

เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน

ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับใบประกาศนียบัตรในระบบได้

ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC

Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

อาจารย์ ดร.พันทิพา อมรฤทธิ์
อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน

e-Mail : phantipa.amo@stou.ac.th

 

Course Staff Image #2

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

อาจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์
อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน

e-Mail : chutiwat.suw@stou.ac.th

 

Course Staff Image #2

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

รองศาสตราจารย์ ดร.สมัครสมร ภักดีเทวา
รองศาสตราจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน

e-Mail : smaksmorn@hotmail.com